13.9.54
ภาษา Pascal
ภาษาปาสคาล (Pascal) สร้างขึ้นเพื่อใช้สอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบและมี ระเบียบเป็นโครงสร้างเนื่องจากเป็นภาษาที่มีรูปแบบง่าย ต่อความเข้าใจ เขียนเป็นโปรแกรมได้เร็วแก้ไขปรับปรุงง่าย ผู้สร้างภาษานี้คือ ดร.เวียร์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2514 ซึ่งหลังจากออกแบบแล้ว ได้มีผู้นำไปเขียนเป็น โปรแกรมตัวแปร(COMPILER) โดยที่ตัวแปรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ TURBO PASCAL ของบริษัทบอร์แลนด์และปัจจุบันได้ถูกพัฒนาไปเรื่อยๆ
ประวัติการพัฒนา
ประมาณปี ค.ศ.1970 ภาษาระดับสูงภาษาหนึ่งได้ถูกสร้างโดยดร.นิคลอล เวียร์ต (Professor Doctor Niklaus Wirth) ชาวเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งต้องการพัฒนาให้เป็นภาษาสำหรับฝึกเขียนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างมีระบบระเบียบ และได้กำหนดให้ภาษาใหม่นี้ชื่อว่า ภาษาปาสคาล (Pascal Language) เพื่อเป็นเกียรติแก่ Blaise Pascal ผู้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกของโลก
ภาษาปาสคาลมีต้นแบบมาจากภาษา ALGOL (Algorithmic Language) และตัวภาษาปาสคาลเองก็ได้ถูกพัฒนาต่อไปเป็นภาษาที่รู้จักกันในชื่อต่าง ๆ เช่น ภาษา Modulaz ภาษา Ada ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับความนิยมในการอนาคต
โครงสร้างของภาษา
ภาษาปาสคาลมีส่วนประกอบด้วย3ส่วน ดังต่อไปนี้
1.ส่วนหัวโปรแกรม (Program Header Part)
ในส่วนนี้จะใช้สำหรับกำหนดชื่อโปรแกรม โดยจะต้องเริ่มต้นด้วยคำว่า Program และตามด้วยชื่อโปรแกรมและปิดท้ายด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน (;) ดังตัวอย่างเช่น Program Test; เป็นการบอกว่าโปรแกรมนี้มีชื่อว่า Test ส่วนเครื่องหมาย ; ใช้สำหรับบ่งบอกว่าจบคำสั่ง
รูปแบบ
PROGRAM ชื่อโปรแกรม (รายชื่ออุปกรณ์);
ตัวอย่าง
PROGRAM EXAM1;
PROGRAM EXAM1(INPUT,OUTPUT);
2. ส่วนประกาศ (Declaration Part)
ในส่วนนี้จะอยู่ต่อจากส่วนของหัวโปรแกรม ส่วนนี้บางโปรแกรมอาจไม่มีก็ได้ ถ้าหากต้องการกำหนดประเภทของข้อมูลจะใช้คำว่า type นำหน้า ถ้าต้องการประกาศตัวแปรจะใช้ var ถ้าต้องการกำหนดค่าคงที่ก็จะใช้ const ถ้าต้องการกำหนดโปรแกรมย่อยหรือโปรซีเยอร์จะใช้คำว่า Procedure และใช้ Function ในการกำหนดฟังก์ชั่น
รูปแบบ
VAR รายชื่อตัวแปร : ประเภทของข้อมูล;
ตัวอย่าง
VAR I,J,K : INTEGER;
NAME : STRING;
SALARY : REAL;
2.2 TYPE เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลขึ้นใหม่
รูปแบบ
TYPE ชื่อของแบบ = ประเภทหรือค่าของข้อมูล;
ตัวอย่าง
TYPE SCORE = INTEGER;
WEEK = (MON, TUE, WED, THU, FRI);
VAR TEST, MIDTERM, FINAL : SCORE;
DAY : WEEK;
จากตัวอย่างต้องประกาศชื่อแบบของตัวแปรก่อนแล้วจึงประกาศชื่อตัวแปรที่เป็นแบบ
2.3 CONST เป็นการกำหนดค่าคงที่
รูปแบบที่ 1
CONST รายชื่อค่าคงที่ = ค่าที่กำหนด;
รูปแบบที่ 2
CONST รายชื่อค่าคงที่ : ประเภทของข้อมูล = ค่าที่กำหนด;
ตัวอย่าง
CONST HEAD = ‘EXAMINATION’;
CONST A = 15;
CONST SALARY : REAL = 8000.00;
2.4 LABEL ใช้คู่กับคำสั่ง GOTO ภายในโปรแกรม
รูปแบบ
LABEL รายชื่อของ LABEL;
ตัวอย่าง
LABEL 256,XXX;
เช่น GOTO 256; GOTO XXX;
3. ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.”
3. ส่วนโปรแกรมหลัก (Statement Part)
ในส่วนนี้ทุกโปรแกรมจะต้องมี ซึ่งจะประกอบไปด้วยประโยคคำสั่งต่างๆ ที่จะให้โปรแกรมทำงาน โดยนำคำสั่งต่างๆ มาเรียงต่อกัน แต่ละประโยคคำสั่งจะจบด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน ( Semicolon ;) โดยในส่วนของโปรแกรมหลักนี้จะต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า Begin และจบท้ายด้วย End จากนั้นก็ตามด้วยเครื่องหมาย (.)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น